17 สิงหาคม 2553

หลักมนุษยสัมพันธ์ตามแนวคิดจิตวิทยาตะวันออก (พระพุทธศาสนา)

พุทธวิธีครองใจคน สังคหวัตถุ 4
ที่มา:จุลสารบัณฑิตถาวร
(นะโมตัสสะภะคะวะโต อะระหะโต สัมมามัมพุทธัสสะ)

พุทธวิธีครองใจคน สังคหวัตถุ 4
เป็นธรรมดาที่ทุกคนต่างต้องการความรักจาก คนรอบข้างบ้างก็แสวงหาด้วยความน่ารัก บ้างก็แต่งตัวให้ดูดี บ้างพูดจาหวานหู เพื่อรียกร้องหาความรัก แต่วิธีการเหล่านี้ก็ไม่ประสบผลสำเร็จเสมอไป น่าแปลกที่ว่าบางคนไม่จำเป็น ต้องทำตัวให้เด่นดัง ไม่ต้องแต่งหน้าทาปาก ไม่มียศตำแหน่งสูง แต่กลับเป็นที่รักของคนรอบข้างได้ จะมีวิธีการใดที่เราจะผูกมัดใจคน จะสามารถครองใจคน ได้อย่างถูกต้อง เคล็ดลับในการครองใจคน หรือ “พุทธวิธีครองใจคน”การทำให้คนรอบข้างรักเรา พระสัมมาสัมพุทฑเจ้าทรงสอนให้ปรับที่ตัวของเราเอง คือต้องทำตัวเราให้เป็นคนน่ารักเสียก่อน โดยการปฏิบัติตามสังคหวัตถุ4 ซึ่งเป็นการปฏิบัติ เพิ่อยึดเหนี่ยวน้ำใจกัน ทำให้เกิดความเคารพรักใคร่นับถือ เกรงอกเกรงใจกัน ไม่ว่าใครก็ตาม เมื่อมีหลักสังควัตถุ 4 นี้ก็จะทำให้ อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข

สังคหวัตถุ 4 มีด้วยกัน 4 ประการคือ

1. ทาน คือ การให้

2. ปิยวาจา คือ การพูดถ้อยคำที่เป็นที่รัก

3. อัตถจริยา คือ การทำตนให้เป็นระโยชน์

4. สมานัตตา คือ การวางตนให้สม่ำเสมอ

ธรรมชาติของใจคนโดยทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ที่ยังไม่หมดกิเลส จะมีความอยากของใจอยู่ ตลอดเวลา ใครก็ตามที่ช่วยให้เขาสมความอยากได้เขาก็พร้อมที่จะรักคนๆนั้น

1. ทาน คือ การให้ พอให้แล้ว เขาได้สิ่งที่เขาต้องการ เขาก็จะมีความรักเราขึ้นมา การให้ทาน ไม่ได้หมายถึงการให้วัตถุสิ่งของ หรือเรียกว่า อามิสทาน แต่งเพียงอย่างเดียว ยังหมายรวมถึง การให้ความรู้เป็นทานด้วย ถ้าเป็นความรู้ทางโลก เรียกว่า วิทยาทาน ถ้าเป็นความรู้ทางธรรมก็เรียก ธรรมทาน

นอกจากนี้ยังมีการให้ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง นั่นก็คือ การให้อภัย ไม่ถือโกรธเคืองกัน มีจิตเมตตา ปรารถนาดีต่อกันหรือเรียกว่าอภัยทาน คนเราอยู่ด้วยกัน ก็เป็นธรรมดา ที่จะต้องมีการกระทบกระทั่งกันบ้าง ขัดใจกันบ้าง แต่เมื่อขัดใจกันแล้วก็ควรต้องมีการให้อภัยกัน ให้เรามองแต่ข้อดีของเขาเยอะๆๆ แล้วความไม่พอใจ ก็จะค่อยๆ ลดลง จนหายไป เราก็จะมีแต่ความสุขใจ สบายใจ มีความรักความตตาที่พร้อมจะมอบให้กับทุกคน จะไปที่ไหนใครๆที่รัก

2. ปิยวาจา คือ การพูดถ้อยคำที่เป็นที่รัก คำพูดนี้มีความสำคัญมาก จะทำให้คนรักเรา หรือเกลียดเราก็ได้พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงให้หลักการพูดไว้ ดังนี้

1.ต้องเป็นคำจริง (ไม่ใช่คำเล่าลือ หรือต่อเติมจนผิดไปจากความจริง)

2.เป็นคำสุภาพ ไพเราะอ่อนหวาน

3.พูดแล้วก่อให้เกิดประโยชน์

4.พูดด้วยจิตเมตตา

5.พูดถูกกาลเทศะ คือ ถูกเวลาและสถานที่

นอกจากการพูดจาไพเราะแล้ว จะต้องมีหางเสียงด้วย เช่น มีครับ มึค่ะ นี่เป็นการเพิ่มเสน่ห์ให้กับคนพูดได้เยอะเลยหลวงพ่อเคยเปรียบเอาไว้ว่า คำพูดที่ไพเราะมีหางเสียงนั้นก็เหมือนทองหยอดที่มีจะงอย หน่อยๆ ก็เหมือนถ้อยคำที่ไพเราะๆๆๆ เมื่อพูดไปแล้ว คำพูดก็หวาน มีหางเสียงเหนี่ยวใจคนให้มาติดอยู่ที่เรา

หากเรามีความจำเป็นที่จะต้องเตือนผู้อื่น ก็พอมีวิธีการเตือนดังนี้

1.เลือกจังหวะให้เหมาะสมดูเวลาและอารมณ์ให้ดี

2.ชมก่อนแล้วค่อยเตือน

3.ยิ้มก่อนติ

4.ต้องเป็นเรื่องจริง

5.เป็นเรื่องที่เกิดประโยชน์

ซึ่งจะต้องทำให้ครบทั้ง 5 ข้อ ถ้าไม่คบก็อาจทำให้โกรธกันก็ได้สำหรับผู้ถูกตือน ไม่ว่าเขาจะเตือนผิดหรือถูก ก็ให้รีบขอบคุณเพราะนั่นแสดงว่า เขารักเราจริง ถ้าไม่รักจริงจะไม่กล้าเตือน ถ้าใครทำได้อย่างนี้ จะเป็นคนมีเสน่ห์อย่างยิ่ง อยู่ที่ไหนก็จะมีแต่คนรักแล้วจะรักกันยืดอีกด้วย เพราะว่าเป็นคนไม่มีทิฐิมานะ

การให้วัตถุสิ่งของในข้อ 1.นั้นเรายังต้องลงทุนไปซื้อหามา แต่ข้อ 2 ปิยวาจานี้ เป็นการให้ที่ไม่ค้องลงทุน ไม่เสียเงินเลยซักบาท แค่เราหึความสำคัญในการพูด ปรับให้พอดี พอเหมาะพอเจาะ ก็จะเกิดคุณค่า

3.อัตถจริยา คือ การทำตนให้เป็นประโยชน์ ในข้อนี้ แยกได้ 2 ประเด็น คือ

1.การทำตัวของเราให้เป็นคนมีมีประโยชน์
2.การสร้างประโยชน์ให้กับคนอื่น (*โดยไม่ทำให้ตนเองเดือดร้อน)

คือเราจะต้องฝึกตัวเของเราเองให้เป็นคนมีประโยชน์ เพราะถ้าคนไหนเป็นคนที่มีประโยชน์ คนๆนั้นจะเป็นที่รักของคนอื่น ใครๆ ก็อยากเข้าใกล้ วิธีทำให้เราเป็นคนมีประโยชน์ ก็ทำได้ การหมั่นปรับปรุง พัฒนาความรู้ ความสามารถของเราให้ยิ่งๆขึ้นไปตลอดเวลา และต้องต้องทำควบคู่ไปกับการพัฒนาคุณธรรมด้วย เพราะเราจะเป็นคนเก่ง อย่างเดียวไม่พอแต่ต้องเป็นคนดีดัวย เมื่อเราฝึกตัวเองให้เป็นคนมีประโยชน์แล้ว ก็ต้องสร้างประโยชน์ให้ กับคนอื่นด้วยให้ การช่วยเหลือเกื้อกูลกัน มีน้ำใจไมตรีต่อกัน เห็นอะไรช่วยได้ก็ช่วย ไม่นิ่งเฉยดูดาย ก็จะเป็นที่รักของคนทั่วไปแม้แต่ในสังคมที่ถูกยกย่องให้เกียรติย่อมเป็นบุคคลที่ทำคุณประโยชน์แก่หมู่ชนนั้นๆ เพราะฉะนั้นเมื่อเราอยู่ที่ใด เราควรทำตัวให้เกิดประโยชน์ บุคคลใดก็ตามเป็นบุคคลที่มีประโยชน์ บุคคลนั้น จะเป็นบุคคลที่น่ารักน่าเข้าใกล้

4.สมานัตตตา การวางตนให้สม่ำเสมอ หมายถึง การวางตัวของเราให้สมกับฐานะ และบทบาทของตัวเอง เช่น

เป็นพี่เป็นน้อง เป็นพ่อแม่ลูก เป็นสามีภรรยา เราก็วางตัวให้เหมาะ พอดีตามนั้น อย่างแรกเลย ก็มีฐานะเป็นลูกศิษย์ที่รักของคุณครู เป็นลูกที่น่ารัก ของคุณพ่อคุณแม่ ถ้าใครมีพี่ เราก็มีฐานะเป็นน้อง จะเห็นได้ว่า แต่ละคนก็จะมี หลายฐานะในตัวเอง ดังนั้น เราจะต้องศึกษาว่า ในแต่ละฐานะที่เราเป็นอยู่ มีหน้าที่อะไรบ้าง เมื่อศึกษาแล้วก็ต้อง ปฏิบัติตามหน้าที่นั้นให้สมบรูณ์ถ้าทำได้เช่นนี้ เราก็จะเป็นที่รักของคนรอบข้าง แต่ถ้าใครเป็นโจรอยู่ ก็ไม่ได้หมายความว่า จะต้องวางตัวให้สมกับที่เป็นโจร อันนี้ไม่ถือว่าสมานัตตตา เพราะสมานัตตตายังหมายรวมถึงการทำตนให้สมกับที่เป็นคน ก็คือ การปฏิบัติตนให้เป็นคนดีที่โลกต้องการ

นอกจากนี้ เราจะต้องทำตนให้เสมอต้นเสมอปลายด้วยคือ เราเคยวางตัวกับคนอื่นในทางที่ดีอย่างไร เราก็ยังคงปฏิบัตัอย่างนั้นไม่เปลี่ยน แม้ว่าเราจะได้ดิบได้ดีแล้ว เราก็ไม่ลืมตัว หรือว่าเมื่อเราเห็นคนอื่นเขาได้ดี เราก็แสดงออกให้เขารับรู้ว่าเรามีความยินดีกับเขาอย่างจริงใจ ไม่คิดกลั่นแกล้งใส่ร้ายป้ายสีเขา ถ้าใครทำได้อย่างนี้ รับรองว่า ไม่ว่าจะย่างเท้าไปถึงไหนก็จะเป็นที่รักไปถึงนั่น จะเห็นได้ว่า สังคหวัตถุ 4 เป็นธรรมะ ที่สำคัญมากเป็นวิธีการครองใจคนชั้นเยี่ยมเลย


ที่มา http://www.watcharina.com/board/index.php?topic=1014.msg5053